HA ย่อมาจากคำว่า Hospital accreditation ซึ่งหมายถึง การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลโดยเฉพาะ (ไม่สามารถนำไปใช้กับการรับรองโรงงานหรือบริการอย่างอื่นได้) ซึ่งจะต่างจาก ISO เพราะ HA นั้นจะได้รับต้องผ่านการประเมินโดยคณะกรรมการพัฒนาสถานพยาบาล หากสถานพยาบาลใดต้องการได้รับ HA ต้องผ่านการประเมินหลายอย่าง เช่น การจัดการให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม การลดความเสี่ยงในการรักษาพยาบาล สถานพยาบาลจะต้องมีการเตรียมตัวด้วยการประเมินและพัฒนาตนเอง รวมทั้งยินดีที่จะให้มีการเยี่ยมสำรวจจากภายนอก
ทำไมต้องมีมาตรฐานโรงพยาบาล
1. เพื่อชี้นำทิศทางการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลไปในทิศทางที่เหมาะสม
โดยใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการทำความเข้าใจกับปัญหาและโอกาสพัฒนาของโรงพยาบาล
2. เพื่อให้ทีมงานของโรงพยาบาลและผู้ประเมินภายนอก มีกรอบที่จะเรียนรู้และประเมินร่วมกัน
3.เพื่อใช้เป็นกรอบในการพิจารณารับรองโรงพยาบาล
แนวความคิดของ HA ภาพรวมของการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) คืออะไร คือกลไกกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล ควบคู่ไปกับการเรียนรู้แลกเปลี่ยน และการรับรองจากองค์กรภายนอก การรับรองเป็นเพียงส่วนเดียวและส่วนสุดท้ายของกระบวนการ
จุดสำคัญคือการกำหนดมาตรฐาน ตรวจสอบ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาล
ใครจะเป็นผู้รับรองคุณภาพ
องค์กรที่รับรองจะต้องเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางและเป็นที่เชื่อถือของทุกฝ่ายซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิที่สังคมยอมรับ ปัจจุบันคือ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ha.or.th/
การรับรอง
1.รับรองว่าโรงพยาบาลมีความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาคุณภาพ ทุกคนรู้ว่าเป้าหมายอยู่ตรงไหน บทบาทของตนเองคืออะไร มีความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2.รับรองว่าโรงพยาบาลมีกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐาน มาตรฐานนี้คือมาตรฐานของโรงพยาบาลเอง โดยที่ต้องมีหลักประกันว่าจะไม่เกิดความเสี่ยงเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
3.รับรองว่าโรงพยาบาลมีระบบตรวจสอบตนเองที่น่าเชื่อถือ ได้แก่การแสดงให้เห็นว่ามีการปฏิบัติตามระบบงานที่วางไว้ และมีการวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น มีการนำปัญหามาทบทวนปรึกษากับกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อให้เกิดการแก้ไขและเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4.รับรองว่าโรงพยาบาลมีการบริหารงานที่เป็นระบบ มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม
5.รับรองว่าโรงพยาบาลมีกำลังคน สถานที่ และเครื่องมือ เหมาะสม ความเหมาะสมของทรัพยากรคือความสอดคล้องกับพันธกิจและขอบเขตของโรงพยาบาล ร่วมกันการมีกระบวนการบำรุงรักษาและพัฒนาเพื่อให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำไมต้องมีการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
โรงพยาบาลทุกแห่งอาจจะคิดว่าตนเองมีมาตรฐานในการปฏิบัติอยู่แล้ว ทำไมต้องมี การรับรองคุณภาพซึ่งความจริงการกล่าวเช่นนั้นก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ไม่มีใครยืนยันให้ได้ ว่าที่ปฏิบัตินั้นมีมาตรฐานหรือคุณภาพเพียงใด เนื่องจากไม่มีการประเมิน การตรวจสอบ หรือการรับรองจากหน่วยงานใดเลย ปัจจุบันมีปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างที่กระตุ้นให้ โรงพยาบาลต่าง ๆ ต้องการการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA) อาทิเช่น
1. ข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน เน้นการให้บริการ ที่ได้มาตรฐาน
2. การที่โรงพยาบาลรัฐถูกผลักดันให้แปรสภาพเป็นองค์กรมหาชน ทำให้ต้องมีการ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐาน เพื่อความอยู่รอดขององค์กร และการยอมรับจากสังคม
3. ผู้รับบริการมีความรู้และมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น และมีความคาดหวังที่จะได้รับ การบริการที่ได้มาตรฐาน และมีคุณธรรมเพิ่มสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากปริมาณการฟ้องร้องคดี เกี่ยวกับการได้รับบริการที่ไม่ได้มาตรฐานหรือผิดจริยธรรมที่สูงมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจาก เดิมผู้รับบริการจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันเปลี่ยนมา เป็นองค์กรที่สาม (third party payment) เช่น สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งผู้รับผิดชอบที่เป็นองค์กรที่สามเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะ เรียกร้องการบริการที่ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพจากโรงพยาบาลก็มีมากขึ้น
5. สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนโดย
มีการใช้บัตร 30 บาทรักษาได้ทุกโรค ถ้ารัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเลือก สถานพยาบาลเอง โรงพยาบาลที่ไม่ได้รับรองคุณภาพก็คงจะอยู่ไม่ได้ หรืออาจจะมีผู้ไปใช้ บริการลดลง
6. ภาวะกีดกันทางการค้า ทำให้บริษัทข้ามชาติ ซึ่งเป็นลูกค้าโรงพยาบาลเรียกร้อง หลักฐานการได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพของโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญา
7. ภาวะโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีทางการเงิน ทำให้สามารถเคลื่อนไหวเงินทุน จำนวนมหาศาลได้อย่างเสรีภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ประกอบกับการที่ถูกแรงกดดันจาก ต่างชาติให้เปิดเสรีด้านธุรกิจบริการ ล้วนทำให้การแข่งขันธุรกิจบริการรุนแรงขึ้น ไม่ เพียงแต่จะแข่งขันกันเองแต่จะต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศด้วย ดังนั้น โรงพยาบาลที่มีบริการที่ได้มาตรฐานเป็นที่น่าเชื่อถือเท่านั้นจึงจะสามารถดำรงสถานะใน การแข่งขันได้
8. การประกาศรับรองสิทธิของผู้ป่วย ของแพทยสภาและสภาวิชาชีพต่างๆ กดดัน ให้โรงพยาบาลต้องพัฒนาเพื่อการรับรองคุณภาพ
จากปัจจัยที่กล่าวมา เป็นตัวกระตุ้นให้โรงพยาบาล ต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้ ได้มาตรฐาน และ การรับรองคุณภาพ หากศึกษาของต่างประเทศ จะเห็นได้ว่า โปรแกรม Hospital Accreditation มีมานานแล้ว เช่น ที่ประเทศแคนาดา หากโรงพยาบาลใดไม่ผ่านการ
ใครจะได้อะไรจากการรับรองคุณภาพ
สังคม : สังคมเกิดความเชื่อมั่นว่าโรงพยาบาลต่างๆมีระบบการทำงานที่ไว้ใจได้
ประชาชน : ทราบว่าควรให้ความไว้วางใจกับโรงพยาบาลใด
ผู้ป่วย : ได้รับบริการที่มีคุณภาพ ไม่เสี่ยงต่อการดูแลรักษาที่ไม่ได้มาตรฐานหรือถูกปล่อยปละละเลย
ผู้ประกอบวิชาชีพ : ทำงานภายใต้ความเสี่ยงในระดับต่ำที่สุด มีความราบรื่นและคล่องตัวในการทำงาน
โรงพยาบาล : มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ
องค์กรผู้บริหารเงินกองทุนเพื่อสุขภาพ : มีข้อมูลเพื่อคัดเลือกโรงพยาบาลที่จะให้การดูแลผู้ป่วยซึ่งองค์กรนั้นดูแลอยู่
องค์กรวิชาชีพ : มีหลักประกันว่ามาตรฐานวิชาชีพ/ข้อกำหนดต่างๆถูกนำไปปฏิบัติ
ภาพที่ 1 ใครจะได้อะไรจากการรับรองคุณภาพ
Accreditation ช่วยพัฒนาคุณภาพได้อย่างไร
สิ่งที่ผู้บริหารสถานพยาบาลต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลาก็คือ ความท้าทาย ในการจัดบริการที่ มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเป็นที่พอใจ ของผู้บริการ กระบวนการ accreditation มีส่วน สำคัญในการกระตุ้นให้บุคลากรในโรงพยาบาลต้องรวมตัวกัน เพื่อปรับปรุงระบบ งานมี การจัดวางแผนการปฏิบัติงานอย่างมีระบบ จัดการความรู้ในหน่วยงาน ก่อนที่ผู้ประเมินจากภายนอกจะมาประเมินเปรียบเหมือนกับมีสาร adrenalin หลั่งกระตุ้น ให้มีพลังมากมาย หากว่าไม่มีจุดกระตุ้นตรงนี้หรือไม่มีการ accreditation โรงพยาบาลก็ อาจจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ
ภาพที่ 3 กระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพ
การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล คือกลไกกระตุ้นและส่งเสริมให้โรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์กรอย่างมีระบบ
โดยมีกิจกรรมหลัก 3 ขั้นตอน คือ
1. การพัฒนาคุณภาพ
2. การประเมินคุณภาพ
3. การรับรองคุณภาพ
การพัฒนาคุณภาพ
ขั้นตอนในการพัฒนาคุณภาพอย่างเป็นระบบประกอบด้วย
1)การวิเคราะห์สภาพปัญหา
2) การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
3) การวิเคราะห์ทางเลือกในการปรับปรุง
4) การทดลองทางเลือก
5) การวัดผล
6) การสรุปเป็นมาตรฐานการปฏิบัติ
การประเมินคุณภาพ
การประเมินคุณภาพ คือ การตรวจสอบระบบงานและสิ่งที่ปฏิบัติ กับข้อกำหนดในมาตรฐานโรงพยาบาล ซึ่งจะทำโดยโรงพยาบาลและโดยผู้ประเมินภายนอก
การประเมินคุณภาพโดยโรงพยาบาล (Self Assessment)
เป็นการประเมินตนเองเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพ และตรวจสอบความพร้อมที่จะได้รับการประเมินและรับรองจากภายนอก. การประเมินตนเองของโรงพยาบาลควรประเมินโดยทีมที่เกี่ยวข้อง โดยควรครอบคลุมการประเมินเพื่อค้นหาโอกาสพัฒนา, การตรวจเยี่ยมเพื่อสังเกตการปฏิบัติงานจริง, การทบทวนแนวคิด แนวทางปฏิบัติ การปฏิบัติงานจริง และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง, การใช้แบบประเมินตนเองเพื่อบันทึกและวิเคราะห์ระบบงานตามข้อกำหนดในมาตรฐานโรงพยาบาล
3 ลักษณะ คือ การประเมินความพร้อมของโรงพยาบาล., การประเมินเพื่อพิจารณารับรอง, และการประเมินหลังการรับรอง การประเมินโดยผู้ประเมินภายนอก (External Survey)
การประเมินโดยผู้ประเมินภายนอกมี
1. การประเมินความพร้อมของโรงพยาบาล (Preparation Survey) เป็นการประเมินเพื่อดูว่า รพ.ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามข้อกำหนดในกรอบมาตรฐานโรงพยาบาลได้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ มีประเด็นความเสี่ยงที่ชัดเจนหลงเหลืออยู่หรือไม่. โรงพยาบาลจะขอให้มีการทำ presurvey ต่อเมื่อผลการประเมินตนเองอยู่ในระดับที่มั่นใจว่าได้มีการพัฒนาตามมาตรฐานโรงพยาบาลในประเด็นสำคัญๆ ครบถ้วน. ผลการประเมินในขั้นตอนนี้คือการให้คำแนะนำเพื่อให้โรงพยาบาลนำไปปรับปรุง. การประเมินความพร้อมอาจจะทำเป็นระยะๆ หลายครั้ง จนกว่าจะมั่นใจว่าโรงพยาบาลมีความพร้อมเต็มที่สำหรับการประเมินเพื่อรับรอง.
2. การประเมินเพื่อพิจารณารับรอง (Accreditation Survey) คือการไปรับทราบหลักฐานและความจริงว่าโรงพยาบาลได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานโรงพยาบาล, สิ่งที่ระบุไว้ในนโยบาย/คู่มือการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล, คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง, และข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงจากการประเมินความพร้อม. เครื่องมือสำคัญที่ผู้ประเมินภายนอกจะใช้คือข้อมูลที่โรงพยาบาลประเมินตนเองตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ซึ่งผู้ประเมินภายนอกจะต้องศึกษาล่วงหน้าก่อนที่จะไปประเมินในพื้นที่
เกณฑ์การให้คะแนน
ระดับ | คะแนน | วิธีการปฏิบัติ | ความครอบคลุม | ผลลัพธ์ |
ไม่ดี | 0% | ไม่เป็นระบบ/ไม่มีการปฏิบัติ | ยังไม่ดี | ไม่มีรายงาน/ผลไม่ดี |
พอใช้ | 10-30% | เริ่มเป็นระบบ ตอบสนองเป้าหมายหลัก | ยังไม่ดี | เริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น |
ดี | 40-60% | เป็นระบบ, ตอบสนองเป้าหมายหลัก,มีการใช้ข้อมูล | ค่อนข้างดี | ผลลัพธ์ดีในประเด็นสำคัญส่วนใหญ่ |
ดีมาก | 70-90% | เป็นระบบ, ตอบสนองเป้าหมายทุกอย่าง | ดีมาก | ดี, ยั่งยืน |
ดีเลิศ | 100% | ปรับปรุงต่อเนื่อง | ดีเลิศ | ดีเลิศ, เป็นผู้นำ |
3. การประเมินหลังการรับรอง
การประเมินหลังการรับรองมี 3 ลักษณะได้แก่:
ก) การประเมินเฝ้าระวัง (Surveillance Survey) เป็นการประเมินตามกำหนดเวลาทุก 6-12 เดือน โดยเน้นประเด็นสำคัญหรือประเด็นที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาในภาพรวม
ข) การประเมินเมื่อมีปัญหา (Unscheduled Survey) เป็นการประเมินเมื่อได้รับทราบว่าอาจจะมีปัญหารุนแรงเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยหรือความปลอดภัย
ค) การประเมินเมื่อมีการปรับเปลี่ยน (Verification Survey) ได้แก่ การเปิดบริการ การขยายบริการ การเปลี่ยนเจ้าของหรือผู้บริหารระดับสูง. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โรงพยาบาลจะต้องแจ้งให้ทราบภายใน 30 วัน และจะมีการประเมินซ้ำเพื่อยืนยันการรับรองหากอายุการรับรองยังมีเหลือมากกว่า 9 เดือน โดยอายุการรับรองจะไม่ขยายมากกว่าเดิม
เหตุผลที่ต้องมีขบวนการ accreditation ก็เพราะว่าประชาชนมีความต้องการการ บริการที่มีคุณภาพมากขึ้น ปัจจุบันแนวทางพัฒนาคุณภาพมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางใน ขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด
หัวใจของการพัฒนาตามข้อกำหนดในมาตรฐาน HA คือ การวิเคราะห์หาจุดอ่อนในระบบที่เป็นอยู่ ดำเนินการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ จัดทำคู่มือ แนวทางปฏิบัติงานสำหรับกระบวนการที่สำคัญ เพื่อเป็นหลักของการธำรงไว้
การรับรองโรงพยาบาล
การรับรองโรงพยาบาล
การรับรองโรงพยาบาล คือการรับรองว่าโรงพยาบาลมีการจัดระบบงานที่ดี เอื้อต่อการให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ และปลอดภัย, มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้มีคุณภาพและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง, มีการตรวจสอบตนเองอย่างสม่ำเสมอ.
ผู้ตัดสินให้การรับรองโรงพยาบาล คือคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง พรพ. แต่งตั้งขึ้น. คณะกรรมการจะตัดสินโดยพิจารณาข้อมูลที่ได้รับจากผู้ประเมินภายนอก. ลักษณะของการรับรองมีดังนี้:
· รับรอง 2 ปี สำหรับโรงพยาบาลที่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานได้ครบถ้วน บริการส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ไม่มีความเสี่ยงที่ชัดเจน มีหลักฐานของความพยายามในการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง.
· ไม่รับรอง สำหรับโรงพยาบาลที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานโรงพยาบาลได้ครบถ้วน ยังมีความเสี่ยงปรากฎอย่างชัดเจน ที่มา :
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น