วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ครั้งที่ 13 และประทานประกาศนียบัตรรับรองกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล จำนวน 200 แห่ง

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) การประชุมวิชาการประจำปี การพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ครั้งที่ 13 ภายใต้แนวคิดเรื่องเรียนรู้บูรณาการ งานกับชีวิตเพื่อเป็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ สร้างความตระหนัก ตลอดจนเป็นการจุดประกายแนวทางและทิศทางการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล และเป็นเวทีเชิดชูเกียรติให้กับผู้ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพ โดยการประชุมนี้จะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 13-16 มีนาคม 2555 ณ อาคาร IMPACT Forum เมืองทองธานี ในวโรกาสนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุได้เสด็จเป็นองค์ประธานใน
พิธีเปิดการประชุมวิชาการและประทานประกาศนียบัตรรับรองกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลแก่ผู้แทนโรงพยาบาล ในวันที่ 13 มีนาคม 2555 เวลา 15.00 น จำนวนกว่า 200 แห่ง จากนั้น เสด็จเปิดนิทรรศการของสถาบันและทอดพระเนตรชมนิทรรศการการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 177 โรงพยาบาล มีผลงานจัดแสดงนิทรรศการ นวตกรรมการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล จำนวน 546 ผลงานและนิทรรศการขององค์การที่เข้าร่วมจัดจำนวน 23 องค์กร
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ในฐานะผู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลด้วยกระบวนการ HA ได้จัดเวทีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่าสิบสามปี เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้และนำผลจากการเรียนรู้ไปสร้างระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ให้มีความปลอดภัย น่าไว้วางใจ มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับหัวข้อของการประชุมวิชาการประจำปี การพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ในแต่ละปีเปรียบเสมือนการปรับมุมมองเพื่อให้เห็นโอกาสใหม่ๆ เกิดแนวคิดใหม่ๆ เป็นการเติมเต็มให้กับกระบวนการพัฒนา โดยที่บริบท ปรัชญาและข้อกำหนดต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม สำหรับหัวข้อหรือแนวคิดหลักของการประชุมในปีนีคื้อเรียนรู้บูรณาการ งานกับชีวิต
                                                                               จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

ความเป็นมาในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

                ในประเทศไทยได้มีการพัฒนาเป็นลำดับดังนี้
..2524 พัฒนาการบริหารจัดการโรงพยาบาลชุมชน โดยกองการพยาบาล, กองาธารณ สุขภูมิภาค เน้นการบริหารจัด การทั่วไป, การรักษาพยาบาล พ..2526 พัฒนาระบบบริการพยาบาล โดยกองการพยาบาล เน้นบริการพยาบาล รพศ./รพท.
..2527-8 ติดดาวโรงพยาบาล โดยนพ.บรรลุ ศิริพานิช เน้นขีดความสามารถของ รพศ./รพท.
..2528-9 พบส. (พัฒนาระบบบริการของสถานบริการและหน่วยงานสาธารณสุขใน ส่วนภูมิภาค) โดย นพ.ชัยสิทธิ์ ธารากุล เน้นความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการด้วยการสร้างเครือข่ายบริการแบบเบ็ดเสร็จ และร่วมกันพัฒนา
..2528 มาตรฐานระบบบริการพยาบาล โดยกองการพยาบาล เน้นบริการพยาบาล
..2531 การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล โดยกองการพยาบาล เน้นบริการพยาบาล รพศ./รพท.
..2536-7 มาตรฐานสถานพยาบาลประกันสังคม โดย ส.ประกันสังคม เน้นการใช้รับรองสถานพยาบาลที่จะดูแลผู้ป่วยประกันสังคม
..2536-9 ก้าวแรกของ TQM/CQI ใน รพ. โดย สวรส./กอง รพ./.ประกันสุขภาพ มีรพ.นำร่อง 8 แห่ง ผสมผสาน OD, ESB , CQI เข้าด้วยกัน
..2538 ประกันคุณภาพการพยาบาล โดยกองการพยาบาล เน้นมาตรฐานและการตรวจสอบ
..2538 คู่มือรับรองสถานพยาบาลประกันสังคม โดยสวรส. กำหนดคู่มือตรวจรับรอง
..2538 นโยบายโรงพยาบาลคุณภาพ โดยกอง รพ.ภูมิภาค เน้นรพศ./รพท.ทุกแห่งนำแนวคิด TQM/ CQI ไปปฏิบัติในสิ้นแผน 8 2
..2538-9 มาตรฐานโรงพยาบาลฉบับปีกาญจนาภิเษก โดยสวรส. เน้นมาตรฐานที่มุ่งเน้น process, customer, CQI
..2539 ดูงานแคนาดา โดยกอง รพ.ภูมิภาค เน้นการนำ CQI ไปใช้กับ HA
..2540-3 โครงการ Hospital Accreditation โดยสวรส./สกว./กอง รพ. เน้นการทดลองใช้มาตรฐาน, สร้างระบบรับรองคุณภาพ
..2541 ...สถานพยาบาล โดยกองการประกอบโรคศิลปะ เน้นมาตรฐานเชิงโครงสร้างและกำลังคน, สถานพยาบาล เอกชน
..2541 คำประกาศสิทธิผู้ป่วย โดย4 สภาวิชาชีพ และกระทรวงสาธารณสุข เน้นความเข้าใจและไว้วางใจระหว่างผู้ประกอบวิชา ชีพกับผู้ป่วย
..ปัจจุบัน มีหน่วยงานสำหรับรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ในระยะแรกเรียกว่า ภาคีพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ปัจจุบันเรียกสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งประกอบด้วยบุคคลจากหลายอาชีพ

ความเหมือนที่แตกต่างของ ISO กับ HA

HA มีต้นกำเนิดในประเทศอเมริกาเมื่อ 70 ปีก่อน โดยมีเป้าหมายเริ่มต้นเพื่อเลือกสรรโรงพยาบาลสำหรับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง และต่อมาถูกนำมาใช้สำหรับเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินสำหรับระบบประกันสุขภาพ.ในช่วงต้นระบบนี้ได้ขยายตัวไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ สวีเดน. มีการนำ HA มาใช้กับประเทศกำลังพัฒนาเมื่อไม่กี่ปีมานี้ โดยองค์การอนามัยโลกกำลังให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง.

ISO9000 มีต้นกำเนิดมาจากภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เนื่องมาจากความหลากหลายและความสับสนในข้อกำหนดและมาตรฐานต่างๆ. ISOจึงได้กำหนดมาตรฐานสำหรับระบบบริหารคุณภาพขึ้นเมื่อปี 1987 และปรับปรุงครั้งแรกเมื่อปี 1994.

การรับรองคุณภาพกับโรงพยาบาล

HA มีต้นกำเนิดในประเทศอเมริกาเมื่อ 70 ปีก่อน  เป้าหมายในช่วงแรกเป็นไปเพื่อเลือกสรรโรงพยาบาลสำหรับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง และต่อมาถูกนำมาใช้สำหรับเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินสำหรับระบบประกันสุขภาพ  มีการขยายตัวของระบบHA ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างกว้างขวาง เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์อังกฤษ สวีเดน  ส่วนในประเทศที่กำลังพัฒนา เพิ่งจะมีการนำ HA มาใช้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ โดยองค์การอนามัยโลกกำลังให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ  ของระบบบริการสุขภาพทั้งในระดับโรงพยาบาล และในภาพรวม ประเทศไทยนำ HA เข้ามาในลักษณะของการศึกษาวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 มีการจัดทำมาตรฐานโรงพยาบาลทดลองนำไปปฏิบัติ   เรียนรู้กระบวนการ เยี่ยมสำรวจ และพร้อมที่จะขยายตัวให้โรงพยาบาลที่สนใจเข้าร่วมได้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2543 เป็นต้นไป
การรับรองของ HA  มีเป้าหมายที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเองขึ้นในโรงพยาบาลด้วยการยืนยัน ความสำเร็จของการพัฒนาให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้บริโภคและผู้จ่ายเงินที่สำคัญที่สุดคือต้องการยกระดับคุณภาพ บริการสุขภาพในภาพรวม

HA และ ISO9000 มีอะไรที่คล้ายกันและต่างกัน

ความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันมีอยู่ใน 2 ส่วน คือ กระบวนการ และเนื้อหา
กระบวนการที่เหมือนกันคือ การมีมาตรฐานหรือข้อกำหนดการที่องค์กรจะต้องจัดทำระบบคุณภาพหรือพัฒนาคุณภาพการที่มีองค์กรภายนอก เข้าไปประเมินหรือเยี่ยมสำรวจและการให้ใบรับรอง

เนื้อหาที่เหมือนกันคือจุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างระบบคุณภาพเพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า

HA และ ISO9000 มีอะไรที่ต่างกัน

ความแตกต่างหลักมี 2 ประการ ประการแรกคือระดับคุณภาพที่มุ่งหวัง ISO9000 เน้นที่การสร้างพื้นฐานของคุณภาพและรักษาความสม่ำเสมอของคุณภาพ ส่วนHA เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพิ่มเติมจากการรักษาความสม่ำเสมอของคุณภาพ ประการที่สองคือความเฉพาะเจาะจง ISO9000 ใช้ได้กับกิจการทุกประเภทส่วน HA มีความเฉพาะเจาะจงกับโรงพยาบาล
ISO9000 จะเน้นที่การทำให้นกบินได้ รักษาเพดานบินให้สม่ำเสมอ  และใช้ได้กับ นกทุกประเภท  ISO9000 เรียกการรับรองนี้ว่า"รับรองระบบคุณภาพ" การประเมินของISO9000  จะดูว่ามีการจัดทำเอกสารคู่มือปฏิบัติงาน เหมาะสมเพียงพอหรือไม่มีการปฏิบัติตามคู่มือที่เขียนไว้หรือไม่  มีการติดตาม ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาหรือไม่
HA จะเน้นทั้งการทำให้นกบินได้  ควบคู่ไปกับการเพิ่มสมรรถนะการบินให้สูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง และใช้ได้กับนกพันธ์เดียวคือโรงพยาบาล (ข้อกำหนดของ ISO9000 ในปี ค.ศ.2000  ก็เพิ่มในส่วนของการทำให้นกเพิ่มสมรรถนะการบินให้สูงขึ้นด้วยเช่นกัน)   การจะเพิ่มสมรรถนะการบินให้สูงขึ้นได้นั้นจะต้องมีการ เปลี่ยนแปลงวิธีการคิด และวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน  HA เรียกการรับรองนี้ว่า "รับรองกระบวนการ คุณภาพโรงพยาบาล"  ซึ่งครอบคลุมทั้งการมีระบบคุณภาพที่ดีและมีกระบวนการในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง HAจะให้ความสำคัญกับการประเมินตนเองเพื่อให้เห็นจุดอ่อนแล้วนำไปสู่การพัฒนา   ในการเยี่ยมสำรวจนอกจากจะเป็นการยืนยันความน่าเชื่อถือของการประเมินตนเองแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้เห็นโอกาสพัฒนาในมุมมองที่กว้างขึ้น
           มาตรฐานหรือข้อกำหนดของ HA  ต้องระบุถึงประเด็นต่างๆ ซึ่งไม่มีอยู่ในข้อกำหนดของ ISO9000 ได้แก่
1. สำหรับเรื่องของจิตใจและอารมณ์  จำเป็นต้องให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจบทบาท ของตนเอง ที่มีต่อความสำเร็จและเป้าหมายขององค์กร  รวมไปถึงการทำงานด้วยใจด้วยความเคารพในสิทธิผู้ป่วยและความเท่าเทียมกัน
2. สำหรับเรื่องของความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อน  จำเป็นต้องมีข้อกำหนดในเรื่องการป้องกันความเสี่ยง การดูแลโครงสร้างกายภาพและความปลอดภัยการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
3. สำหรับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของอาการผู้ป่วย  จำเป็นต้องมีแนวทางในการผู้ป่วยเมื่อแรกรับ การวางแผนดูแลรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายการติดตามเฝ้าระวังดูอาการเปลี่ยนแปลง  การปรับแผนการดูแลรักษาให้สอดคล้องกับอาการที่เปลี่ยนแปลงไป
4. สำหรับเรื่องการใช้ดุลยพินิจ ความรู้ และการตรวจสอบตนเอง  จำเป็นต้องมีข้อกำหนดในการจัดทำแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยบนพื้นฐานของความรู้ที่ทันสมัย(Clinical Practice Guideline), การบันทึกเวชระเบียน, การตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจการศึกษาผลลัพธ์ การป้องกันปัญหา และการปรับปรุงให้ดีขึ้น (PeerReview), การมีองค์กรแพทย์มาคอยดูแลการมาตรฐานและการประกอบวิชาชีพ
5. สำหรับเรื่องการเป็นที่รวมของผู้ประกอบวิชาชีพที่หลากหลาย  จำเป็นต้องมีข้อกำหนดในเรื่องการทำงานเป็นทีมและการประสานงานระหว่างวิชาชีพ  และระหว่างหน่วยงานต่างๆ โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

ISO9000 เพียงพอหรือไม่สำหรับคุณภาพการดูแลผู้ป่วย

แนวคิดของ ISO9000 คือการวางพื้นฐานที่แน่นหนาให้กับระบบคุณภาพขององค์กร รวมทั้งการรักษาระดับคุณภาพที่พัฒนาไว้ได้  การนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้กับโรงพยาบาล จึงเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยที่ไม่จำเป็นต้องใบรับรอง  การนำมาเฉพาะแนวคิด ทำให้โรงพยาบาลสามารถเลือกใช้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์กับการดูแล ผู้ป่วยเท่านั้น
ISO9000 มีภูมิหลังจากภาคอุตสาหกรรม  ข้อกำหนดต่างๆ   จึงเขียนด้วยถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ชัดเจนหากนำไปใช้ในการผลิต   แต่หากนำมาใช้ในกับการดูแลผู้ป่วยให้ได้ประโยชน์เต็มที่จะต้องมีการตีความให้กว้างขวางลึกซึ้ง ดังตัวอย่าง 2ประการต่อไปนี้
1. การตรวจสอบความต้องการของลูกค้ากับความสามารถที่จะตอบสนอง (contractreview)  ในการผลิตหรือขายสินค้า เราเพียงถามว่าลูกค้าต้องการอะไร มีคุณลักษณะเฉพาะอย่างไร จัดทำข้อตกลงขึ้นและใช้ข้อตกลงนั้น เป็นแนวทางในการทำงาน  แต่ในการดูแลผู้ป่วยนั้น แพทย์จะต้องเป็นผู้ประเมิน อาการของผู้ป่วยและประเมินความต้องการของผู้ป่วยว่า ควรได้รับบริการ ตรวจรักษาอะไรบ้าง  ผู้ป่วยไม่สามารถบอกเองได้ว่าตัวเองควรได้รับบริการอะไร เพียงแต่บอกความคาดหวังว่าต้องการหายในเวลาที่สั้นที่สุดและค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ข้อกำหนดของ HA  ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายการตอบสนองความต้องการ ของผู้ป่วยจึงระบุในเรื่องการประเมินผู้ป่วยการวางแผนตรวจรักษา การให้ข้อมูลผู้ป่วย การเฝ้าระวังและประเมินซ้ำ แต่การตีความตามข้อกำหนดของISO9000 ที่ทำกันอยู่ในเรื่อง contract review  จะครอบคลุมเพียงการลงทะเบียนผู้ป่วยหรือการลงนามยินยอมรับการรักษา   ซึ่งไม่ตรงประเด็นที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ตรงกับปัญหาหรือความต้องการที่แท้จริง
2. การควบคุมความเที่ยงของเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ วัด และทดสอบ(control of inspection, measuring & test equipment)   การวัดหรือทดสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ในระหว่างการทำงานจะช่วยให้ทราบว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่  เครื่องมือที่ใช้วัดผลผลิตในภาค อุตสาหกรรมมักจะเป็นเครื่องชั่งตวงวัดที่สามารถสอบเทียบความถูกต้องแม่นยำได้  แต่เครื่องมือในการวัดผลการดูแลรักษา ผู้ป่วยอยู่ที่ทักษะของผู้ให้บริการ ในการประเมิน อาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ  การควบคุมความเที่ยงของทักษะ ของแพทย์พยาบาลต้องอาศัยการฝึกอบรม  และการทบทวนตรวจสอบในกลุ่มเพื่อนร่วมวิชาชีพที่สำคัญ   แต่การตีความ ตามข้อกำหนดของ ISO9000  ที่ทำกันอยู่คือการสอบเทียบเครื่องมือ ชั่งตวงวัดเท่านั้น  ซึ่งจะได้ประโยชน์มากสำหรับเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ   แต่จะไม่เพียงพอ สำหรับการดูแลผู้ป่วย
โรงพยาบาลที่ได้รับ ISO9000  แล้วถือว่าเป็นโรงพยาบาลที่มีระบบคุณภาพน่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง  แต่ถามว่าจะมีผลต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตีความและความพยายามในการนำแนวคิดคุณภาพไปขยายผลต่อ  ให้ตรงประเด็น กับกระบวนการดูแลผู้ป่วย ซึ่งในแง่นี้แล้ว HA มีข้อกำหนดที่ตรงประเด็นมากกว่า  หากนำ ISO9000ไปใช้ด้วยการตีความหมายอย่างลึกซึ้ง ก็ย่อมจะให้ผลเท่ากับ HA  แต่หากมีการตีความในระดับปกติที่ปฏิบัติกันอยู่  ย่อมไม่ส่งผลต่อคุณภาพการดูแล ผู้ป่วยมากนัก
ประเทศไทยได้มีการนำข้อกำหนด ISO9000 มาใช้ในธุรกิจบริการต่างๆ รวมทั้งในโรงพยาบาลด้วย แม้ว่าประเทศอังกฤษจะเป็นประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของ ISO9000  แต่ปรากฎว่าโรงพยาบาลแรกที่ได้รับการรับรอง ISO9000 คือโรงพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ โรงพยาบาลในยุโรปนั้นมีการขอ ISO9000 กันประปราย  ส่วนในอเมริกากับแคนาดานั้นแทบไม่มีการพูดถึง ISO9000 ในโรงพยาบาลกันเลย  เพราะเขามีระบบ การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation-HA) มานานแล้ว