วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ครั้งที่ 13 และประทานประกาศนียบัตรรับรองกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล จำนวน 200 แห่ง

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) การประชุมวิชาการประจำปี การพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ครั้งที่ 13 ภายใต้แนวคิดเรื่องเรียนรู้บูรณาการ งานกับชีวิตเพื่อเป็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ สร้างความตระหนัก ตลอดจนเป็นการจุดประกายแนวทางและทิศทางการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล และเป็นเวทีเชิดชูเกียรติให้กับผู้ที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพ โดยการประชุมนี้จะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 13-16 มีนาคม 2555 ณ อาคาร IMPACT Forum เมืองทองธานี ในวโรกาสนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุได้เสด็จเป็นองค์ประธานใน
พิธีเปิดการประชุมวิชาการและประทานประกาศนียบัตรรับรองกระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลแก่ผู้แทนโรงพยาบาล ในวันที่ 13 มีนาคม 2555 เวลา 15.00 น จำนวนกว่า 200 แห่ง จากนั้น เสด็จเปิดนิทรรศการของสถาบันและทอดพระเนตรชมนิทรรศการการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ จำนวน 177 โรงพยาบาล มีผลงานจัดแสดงนิทรรศการ นวตกรรมการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาล จำนวน 546 ผลงานและนิทรรศการขององค์การที่เข้าร่วมจัดจำนวน 23 องค์กร
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ในฐานะผู้ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลด้วยกระบวนการ HA ได้จัดเวทีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่าสิบสามปี เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้และนำผลจากการเรียนรู้ไปสร้างระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ ให้มีความปลอดภัย น่าไว้วางใจ มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ สำหรับหัวข้อของการประชุมวิชาการประจำปี การพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ในแต่ละปีเปรียบเสมือนการปรับมุมมองเพื่อให้เห็นโอกาสใหม่ๆ เกิดแนวคิดใหม่ๆ เป็นการเติมเต็มให้กับกระบวนการพัฒนา โดยที่บริบท ปรัชญาและข้อกำหนดต่างๆ ยังคงเหมือนเดิม สำหรับหัวข้อหรือแนวคิดหลักของการประชุมในปีนีคื้อเรียนรู้บูรณาการ งานกับชีวิต
                                                                               จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

ความเป็นมาในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล

                ในประเทศไทยได้มีการพัฒนาเป็นลำดับดังนี้
..2524 พัฒนาการบริหารจัดการโรงพยาบาลชุมชน โดยกองการพยาบาล, กองาธารณ สุขภูมิภาค เน้นการบริหารจัด การทั่วไป, การรักษาพยาบาล พ..2526 พัฒนาระบบบริการพยาบาล โดยกองการพยาบาล เน้นบริการพยาบาล รพศ./รพท.
..2527-8 ติดดาวโรงพยาบาล โดยนพ.บรรลุ ศิริพานิช เน้นขีดความสามารถของ รพศ./รพท.
..2528-9 พบส. (พัฒนาระบบบริการของสถานบริการและหน่วยงานสาธารณสุขใน ส่วนภูมิภาค) โดย นพ.ชัยสิทธิ์ ธารากุล เน้นความเท่าเทียมในการเข้าถึงบริการด้วยการสร้างเครือข่ายบริการแบบเบ็ดเสร็จ และร่วมกันพัฒนา
..2528 มาตรฐานระบบบริการพยาบาล โดยกองการพยาบาล เน้นบริการพยาบาล
..2531 การตรวจสอบคุณภาพการพยาบาล โดยกองการพยาบาล เน้นบริการพยาบาล รพศ./รพท.
..2536-7 มาตรฐานสถานพยาบาลประกันสังคม โดย ส.ประกันสังคม เน้นการใช้รับรองสถานพยาบาลที่จะดูแลผู้ป่วยประกันสังคม
..2536-9 ก้าวแรกของ TQM/CQI ใน รพ. โดย สวรส./กอง รพ./.ประกันสุขภาพ มีรพ.นำร่อง 8 แห่ง ผสมผสาน OD, ESB , CQI เข้าด้วยกัน
..2538 ประกันคุณภาพการพยาบาล โดยกองการพยาบาล เน้นมาตรฐานและการตรวจสอบ
..2538 คู่มือรับรองสถานพยาบาลประกันสังคม โดยสวรส. กำหนดคู่มือตรวจรับรอง
..2538 นโยบายโรงพยาบาลคุณภาพ โดยกอง รพ.ภูมิภาค เน้นรพศ./รพท.ทุกแห่งนำแนวคิด TQM/ CQI ไปปฏิบัติในสิ้นแผน 8 2
..2538-9 มาตรฐานโรงพยาบาลฉบับปีกาญจนาภิเษก โดยสวรส. เน้นมาตรฐานที่มุ่งเน้น process, customer, CQI
..2539 ดูงานแคนาดา โดยกอง รพ.ภูมิภาค เน้นการนำ CQI ไปใช้กับ HA
..2540-3 โครงการ Hospital Accreditation โดยสวรส./สกว./กอง รพ. เน้นการทดลองใช้มาตรฐาน, สร้างระบบรับรองคุณภาพ
..2541 ...สถานพยาบาล โดยกองการประกอบโรคศิลปะ เน้นมาตรฐานเชิงโครงสร้างและกำลังคน, สถานพยาบาล เอกชน
..2541 คำประกาศสิทธิผู้ป่วย โดย4 สภาวิชาชีพ และกระทรวงสาธารณสุข เน้นความเข้าใจและไว้วางใจระหว่างผู้ประกอบวิชา ชีพกับผู้ป่วย
..ปัจจุบัน มีหน่วยงานสำหรับรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ในระยะแรกเรียกว่า ภาคีพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ปัจจุบันเรียกสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ซึ่งประกอบด้วยบุคคลจากหลายอาชีพ

ความเหมือนที่แตกต่างของ ISO กับ HA

HA มีต้นกำเนิดในประเทศอเมริกาเมื่อ 70 ปีก่อน โดยมีเป้าหมายเริ่มต้นเพื่อเลือกสรรโรงพยาบาลสำหรับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง และต่อมาถูกนำมาใช้สำหรับเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินสำหรับระบบประกันสุขภาพ.ในช่วงต้นระบบนี้ได้ขยายตัวไปในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อังกฤษ สวีเดน. มีการนำ HA มาใช้กับประเทศกำลังพัฒนาเมื่อไม่กี่ปีมานี้ โดยองค์การอนามัยโลกกำลังให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง.

ISO9000 มีต้นกำเนิดมาจากภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เนื่องมาจากความหลากหลายและความสับสนในข้อกำหนดและมาตรฐานต่างๆ. ISOจึงได้กำหนดมาตรฐานสำหรับระบบบริหารคุณภาพขึ้นเมื่อปี 1987 และปรับปรุงครั้งแรกเมื่อปี 1994.

การรับรองคุณภาพกับโรงพยาบาล

HA มีต้นกำเนิดในประเทศอเมริกาเมื่อ 70 ปีก่อน  เป้าหมายในช่วงแรกเป็นไปเพื่อเลือกสรรโรงพยาบาลสำหรับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง และต่อมาถูกนำมาใช้สำหรับเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินสำหรับระบบประกันสุขภาพ  มีการขยายตัวของระบบHA ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างกว้างขวาง เช่น แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์อังกฤษ สวีเดน  ส่วนในประเทศที่กำลังพัฒนา เพิ่งจะมีการนำ HA มาใช้เมื่อไม่กี่ปีมานี้ โดยองค์การอนามัยโลกกำลังให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ  ของระบบบริการสุขภาพทั้งในระดับโรงพยาบาล และในภาพรวม ประเทศไทยนำ HA เข้ามาในลักษณะของการศึกษาวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 มีการจัดทำมาตรฐานโรงพยาบาลทดลองนำไปปฏิบัติ   เรียนรู้กระบวนการ เยี่ยมสำรวจ และพร้อมที่จะขยายตัวให้โรงพยาบาลที่สนใจเข้าร่วมได้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2543 เป็นต้นไป
การรับรองของ HA  มีเป้าหมายที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาตนเองขึ้นในโรงพยาบาลด้วยการยืนยัน ความสำเร็จของการพัฒนาให้ข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจของผู้บริโภคและผู้จ่ายเงินที่สำคัญที่สุดคือต้องการยกระดับคุณภาพ บริการสุขภาพในภาพรวม

HA และ ISO9000 มีอะไรที่คล้ายกันและต่างกัน

ความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันมีอยู่ใน 2 ส่วน คือ กระบวนการ และเนื้อหา
กระบวนการที่เหมือนกันคือ การมีมาตรฐานหรือข้อกำหนดการที่องค์กรจะต้องจัดทำระบบคุณภาพหรือพัฒนาคุณภาพการที่มีองค์กรภายนอก เข้าไปประเมินหรือเยี่ยมสำรวจและการให้ใบรับรอง

เนื้อหาที่เหมือนกันคือจุดมุ่งหมายที่ต้องการสร้างระบบคุณภาพเพื่อตอบสนอง ความต้องการของลูกค้า

HA และ ISO9000 มีอะไรที่ต่างกัน

ความแตกต่างหลักมี 2 ประการ ประการแรกคือระดับคุณภาพที่มุ่งหวัง ISO9000 เน้นที่การสร้างพื้นฐานของคุณภาพและรักษาความสม่ำเสมอของคุณภาพ ส่วนHA เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพิ่มเติมจากการรักษาความสม่ำเสมอของคุณภาพ ประการที่สองคือความเฉพาะเจาะจง ISO9000 ใช้ได้กับกิจการทุกประเภทส่วน HA มีความเฉพาะเจาะจงกับโรงพยาบาล
ISO9000 จะเน้นที่การทำให้นกบินได้ รักษาเพดานบินให้สม่ำเสมอ  และใช้ได้กับ นกทุกประเภท  ISO9000 เรียกการรับรองนี้ว่า"รับรองระบบคุณภาพ" การประเมินของISO9000  จะดูว่ามีการจัดทำเอกสารคู่มือปฏิบัติงาน เหมาะสมเพียงพอหรือไม่มีการปฏิบัติตามคู่มือที่เขียนไว้หรือไม่  มีการติดตาม ตรวจสอบและแก้ไขปัญหาหรือไม่
HA จะเน้นทั้งการทำให้นกบินได้  ควบคู่ไปกับการเพิ่มสมรรถนะการบินให้สูงขึ้น อย่างต่อเนื่อง และใช้ได้กับนกพันธ์เดียวคือโรงพยาบาล (ข้อกำหนดของ ISO9000 ในปี ค.ศ.2000  ก็เพิ่มในส่วนของการทำให้นกเพิ่มสมรรถนะการบินให้สูงขึ้นด้วยเช่นกัน)   การจะเพิ่มสมรรถนะการบินให้สูงขึ้นได้นั้นจะต้องมีการ เปลี่ยนแปลงวิธีการคิด และวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน  HA เรียกการรับรองนี้ว่า "รับรองกระบวนการ คุณภาพโรงพยาบาล"  ซึ่งครอบคลุมทั้งการมีระบบคุณภาพที่ดีและมีกระบวนการในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง HAจะให้ความสำคัญกับการประเมินตนเองเพื่อให้เห็นจุดอ่อนแล้วนำไปสู่การพัฒนา   ในการเยี่ยมสำรวจนอกจากจะเป็นการยืนยันความน่าเชื่อถือของการประเมินตนเองแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้เห็นโอกาสพัฒนาในมุมมองที่กว้างขึ้น
           มาตรฐานหรือข้อกำหนดของ HA  ต้องระบุถึงประเด็นต่างๆ ซึ่งไม่มีอยู่ในข้อกำหนดของ ISO9000 ได้แก่
1. สำหรับเรื่องของจิตใจและอารมณ์  จำเป็นต้องให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจบทบาท ของตนเอง ที่มีต่อความสำเร็จและเป้าหมายขององค์กร  รวมไปถึงการทำงานด้วยใจด้วยความเคารพในสิทธิผู้ป่วยและความเท่าเทียมกัน
2. สำหรับเรื่องของความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อน  จำเป็นต้องมีข้อกำหนดในเรื่องการป้องกันความเสี่ยง การดูแลโครงสร้างกายภาพและความปลอดภัยการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
3. สำหรับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของอาการผู้ป่วย  จำเป็นต้องมีแนวทางในการผู้ป่วยเมื่อแรกรับ การวางแผนดูแลรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายการติดตามเฝ้าระวังดูอาการเปลี่ยนแปลง  การปรับแผนการดูแลรักษาให้สอดคล้องกับอาการที่เปลี่ยนแปลงไป
4. สำหรับเรื่องการใช้ดุลยพินิจ ความรู้ และการตรวจสอบตนเอง  จำเป็นต้องมีข้อกำหนดในการจัดทำแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยบนพื้นฐานของความรู้ที่ทันสมัย(Clinical Practice Guideline), การบันทึกเวชระเบียน, การตรวจสอบการใช้ดุลยพินิจการศึกษาผลลัพธ์ การป้องกันปัญหา และการปรับปรุงให้ดีขึ้น (PeerReview), การมีองค์กรแพทย์มาคอยดูแลการมาตรฐานและการประกอบวิชาชีพ
5. สำหรับเรื่องการเป็นที่รวมของผู้ประกอบวิชาชีพที่หลากหลาย  จำเป็นต้องมีข้อกำหนดในเรื่องการทำงานเป็นทีมและการประสานงานระหว่างวิชาชีพ  และระหว่างหน่วยงานต่างๆ โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง

ISO9000 เพียงพอหรือไม่สำหรับคุณภาพการดูแลผู้ป่วย

แนวคิดของ ISO9000 คือการวางพื้นฐานที่แน่นหนาให้กับระบบคุณภาพขององค์กร รวมทั้งการรักษาระดับคุณภาพที่พัฒนาไว้ได้  การนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้กับโรงพยาบาล จึงเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยที่ไม่จำเป็นต้องใบรับรอง  การนำมาเฉพาะแนวคิด ทำให้โรงพยาบาลสามารถเลือกใช้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์กับการดูแล ผู้ป่วยเท่านั้น
ISO9000 มีภูมิหลังจากภาคอุตสาหกรรม  ข้อกำหนดต่างๆ   จึงเขียนด้วยถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ชัดเจนหากนำไปใช้ในการผลิต   แต่หากนำมาใช้ในกับการดูแลผู้ป่วยให้ได้ประโยชน์เต็มที่จะต้องมีการตีความให้กว้างขวางลึกซึ้ง ดังตัวอย่าง 2ประการต่อไปนี้
1. การตรวจสอบความต้องการของลูกค้ากับความสามารถที่จะตอบสนอง (contractreview)  ในการผลิตหรือขายสินค้า เราเพียงถามว่าลูกค้าต้องการอะไร มีคุณลักษณะเฉพาะอย่างไร จัดทำข้อตกลงขึ้นและใช้ข้อตกลงนั้น เป็นแนวทางในการทำงาน  แต่ในการดูแลผู้ป่วยนั้น แพทย์จะต้องเป็นผู้ประเมิน อาการของผู้ป่วยและประเมินความต้องการของผู้ป่วยว่า ควรได้รับบริการ ตรวจรักษาอะไรบ้าง  ผู้ป่วยไม่สามารถบอกเองได้ว่าตัวเองควรได้รับบริการอะไร เพียงแต่บอกความคาดหวังว่าต้องการหายในเวลาที่สั้นที่สุดและค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด ข้อกำหนดของ HA  ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายการตอบสนองความต้องการ ของผู้ป่วยจึงระบุในเรื่องการประเมินผู้ป่วยการวางแผนตรวจรักษา การให้ข้อมูลผู้ป่วย การเฝ้าระวังและประเมินซ้ำ แต่การตีความตามข้อกำหนดของISO9000 ที่ทำกันอยู่ในเรื่อง contract review  จะครอบคลุมเพียงการลงทะเบียนผู้ป่วยหรือการลงนามยินยอมรับการรักษา   ซึ่งไม่ตรงประเด็นที่จะทำให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่ตรงกับปัญหาหรือความต้องการที่แท้จริง
2. การควบคุมความเที่ยงของเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ วัด และทดสอบ(control of inspection, measuring & test equipment)   การวัดหรือทดสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ในระหว่างการทำงานจะช่วยให้ทราบว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่  เครื่องมือที่ใช้วัดผลผลิตในภาค อุตสาหกรรมมักจะเป็นเครื่องชั่งตวงวัดที่สามารถสอบเทียบความถูกต้องแม่นยำได้  แต่เครื่องมือในการวัดผลการดูแลรักษา ผู้ป่วยอยู่ที่ทักษะของผู้ให้บริการ ในการประเมิน อาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ  การควบคุมความเที่ยงของทักษะ ของแพทย์พยาบาลต้องอาศัยการฝึกอบรม  และการทบทวนตรวจสอบในกลุ่มเพื่อนร่วมวิชาชีพที่สำคัญ   แต่การตีความ ตามข้อกำหนดของ ISO9000  ที่ทำกันอยู่คือการสอบเทียบเครื่องมือ ชั่งตวงวัดเท่านั้น  ซึ่งจะได้ประโยชน์มากสำหรับเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ   แต่จะไม่เพียงพอ สำหรับการดูแลผู้ป่วย
โรงพยาบาลที่ได้รับ ISO9000  แล้วถือว่าเป็นโรงพยาบาลที่มีระบบคุณภาพน่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง  แต่ถามว่าจะมีผลต่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการตีความและความพยายามในการนำแนวคิดคุณภาพไปขยายผลต่อ  ให้ตรงประเด็น กับกระบวนการดูแลผู้ป่วย ซึ่งในแง่นี้แล้ว HA มีข้อกำหนดที่ตรงประเด็นมากกว่า  หากนำ ISO9000ไปใช้ด้วยการตีความหมายอย่างลึกซึ้ง ก็ย่อมจะให้ผลเท่ากับ HA  แต่หากมีการตีความในระดับปกติที่ปฏิบัติกันอยู่  ย่อมไม่ส่งผลต่อคุณภาพการดูแล ผู้ป่วยมากนัก
ประเทศไทยได้มีการนำข้อกำหนด ISO9000 มาใช้ในธุรกิจบริการต่างๆ รวมทั้งในโรงพยาบาลด้วย แม้ว่าประเทศอังกฤษจะเป็นประเทศที่เป็นต้นกำเนิดของ ISO9000  แต่ปรากฎว่าโรงพยาบาลแรกที่ได้รับการรับรอง ISO9000 คือโรงพยาบาลในประเทศสิงคโปร์ โรงพยาบาลในยุโรปนั้นมีการขอ ISO9000 กันประปราย  ส่วนในอเมริกากับแคนาดานั้นแทบไม่มีการพูดถึง ISO9000 ในโรงพยาบาลกันเลย  เพราะเขามีระบบ การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation-HA) มานานแล้ว

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555

Hospital accreditation

มาตรฐานของสถานพยาบาล HA
HA ย่อมาจากคำว่า Hospital accreditation ซึ่งหมายถึง การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลโดยเฉพาะ (ไม่สามารถนำไปใช้กับการรับรองโรงงานหรือบริการอย่างอื่นได้) ซึ่งจะต่างจาก ISO เพราะ HA นั้นจะได้รับต้องผ่านการประเมินโดยคณะกรรมการพัฒนาสถานพยาบาล หากสถานพยาบาลใดต้องการได้รับ HA ต้องผ่านการประเมินหลายอย่าง เช่น การจัดการให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วม การลดความเสี่ยงในการรักษาพยาบาล สถานพยาบาลจะต้องมีการเตรียมตัวด้วยการประเมินและพัฒนาตนเอง รวมทั้งยินดีที่จะให้มีการเยี่ยมสำรวจจากภายนอก

ทำไมต้องมีมาตรฐานโรงพยาบาล
1. เพื่อชี้นำทิศทางการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลไปในทิศทางที่เหมาะสม
โดยใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการทำความเข้าใจกับปัญหาและโอกาสพัฒนาของโรงพยาบาล
2. เพื่อให้ทีมงานของโรงพยาบาลและผู้ประเมินภายนอก มีกรอบที่จะเรียนรู้และประเมินร่วมกัน
3.เพื่อใช้เป็นกรอบในการพิจารณารับรองโรงพยาบาล

แนวความคิดของ HA ภาพรวมของการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation) คืออะไร คือกลไกกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล ควบคู่ไปกับการเรียนรู้แลกเปลี่ยน และการรับรองจากองค์กรภายนอก การรับรองเป็นเพียงส่วนเดียวและส่วนสุดท้ายของกระบวนการ
จุดสำคัญคือการกำหนดมาตรฐาน ตรวจสอบ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของโรงพยาบาล  

ใครจะเป็นผู้รับรองคุณภาพ
องค์กรที่รับรองจะต้องเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางและเป็นที่เชื่อถือของทุกฝ่ายซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง และผู้ทรงคุณวุฒิที่สังคมยอมรับ ปัจจุบันคือ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ha.or.th/ 


การรับรอง
1.รับรองว่าโรงพยาบาลมีความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาคุณภาพ ทุกคนรู้ว่าเป้าหมายอยู่ตรงไหน บทบาทของตนเองคืออะไร มีความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
2.รับรองว่าโรงพยาบาลมีกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐาน มาตรฐานนี้คือมาตรฐานของโรงพยาบาลเอง โดยที่ต้องมีหลักประกันว่าจะไม่เกิดความเสี่ยงเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
3.รับรองว่าโรงพยาบาลมีระบบตรวจสอบตนเองที่น่าเชื่อถือ ได้แก่การแสดงให้เห็นว่ามีการปฏิบัติตามระบบงานที่วางไว้ และมีการวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น มีการนำปัญหามาทบทวนปรึกษากับกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อให้เกิดการแก้ไขและเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
4.รับรองว่าโรงพยาบาลมีการบริหารงานที่เป็นระบบ มีการทำงานร่วมกันเป็นทีม
5.รับรองว่าโรงพยาบาลมีกำลังคน สถานที่ และเครื่องมือ เหมาะสม ความเหมาะสมของทรัพยากรคือความสอดคล้องกับพันธกิจและขอบเขตของโรงพยาบาล ร่วมกันการมีกระบวนการบำรุงรักษาและพัฒนาเพื่อให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำไมต้องมีการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล
โรงพยาบาลทุกแห่งอาจจะคิดว่าตนเองมีมาตรฐานในการปฏิบัติอยู่แล้ว ทำไมต้องมี การรับรองคุณภาพซึ่งความจริงการกล่าวเช่นนั้นก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง แต่ไม่มีใครยืนยันให้ได้ ว่าที่ปฏิบัตินั้นมีมาตรฐานหรือคุณภาพเพียงใด เนื่องจากไม่มีการประเมิน การตรวจสอบ หรือการรับรองจากหน่วยงานใดเลย ปัจจุบันมีปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างที่กระตุ้นให้ โรงพยาบาลต่าง ๆ ต้องการการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA) อาทิเช่น
1. ข้อบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปัจจุบัน เน้นการให้บริการ ที่ได้มาตรฐาน
2. การที่โรงพยาบาลรัฐถูกผลักดันให้แปรสภาพเป็นองค์กรมหาชน ทำให้ต้องมีการ ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐาน เพื่อความอยู่รอดขององค์กร และการยอมรับจากสังคม
3. ผู้รับบริการมีความรู้และมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้น และมีความคาดหวังที่จะได้รับ การบริการที่ได้มาตรฐาน และมีคุณธรรมเพิ่มสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากปริมาณการฟ้องร้องคดี เกี่ยวกับการได้รับบริการที่ไม่ได้มาตรฐานหรือผิดจริยธรรมที่สูงมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
4. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจาก เดิมผู้รับบริการจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันเปลี่ยนมา เป็นองค์กรที่สาม (third party payment) เช่น สำนักงานประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันสุขภาพ เป็นต้น ซึ่งผู้รับผิดชอบที่เป็นองค์กรที่สามเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะ เรียกร้องการบริการที่ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพจากโรงพยาบาลก็มีมากขึ้น
5. สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่เน้นการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนโดย
มีการใช้บัตร 30 บาทรักษาได้ทุกโรค ถ้ารัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเลือก สถานพยาบาลเอง โรงพยาบาลที่ไม่ได้รับรองคุณภาพก็คงจะอยู่ไม่ได้ หรืออาจจะมีผู้ไปใช้ บริการลดลง
6. ภาวะกีดกันทางการค้า ทำให้บริษัทข้ามชาติ ซึ่งเป็นลูกค้าโรงพยาบาลเรียกร้อง หลักฐานการได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพของโรงพยาบาลที่เป็นคู่สัญญา
7. ภาวะโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีทางการเงิน ทำให้สามารถเคลื่อนไหวเงินทุน จำนวนมหาศาลได้อย่างเสรีภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ประกอบกับการที่ถูกแรงกดดันจาก ต่างชาติให้เปิดเสรีด้านธุรกิจบริการ ล้วนทำให้การแข่งขันธุรกิจบริการรุนแรงขึ้น ไม่ เพียงแต่จะแข่งขันกันเองแต่จะต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศด้วย ดังนั้น โรงพยาบาลที่มีบริการที่ได้มาตรฐานเป็นที่น่าเชื่อถือเท่านั้นจึงจะสามารถดำรงสถานะใน การแข่งขันได้
            8. การประกาศรับรองสิทธิของผู้ป่วย ของแพทยสภาและสภาวิชาชีพต่างๆ กดดัน ให้โรงพยาบาลต้องพัฒนาเพื่อการรับรองคุณภาพ
จากปัจจัยที่กล่าวมา เป็นตัวกระตุ้นให้โรงพยาบาล ต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้ ได้มาตรฐาน และ การรับรองคุณภาพ หากศึกษาของต่างประเทศ จะเห็นได้ว่า โปรแกรม Hospital Accreditation มีมานานแล้ว เช่น ที่ประเทศแคนาดา หากโรงพยาบาลใดไม่ผ่านการ

ใครจะได้อะไรจากการรับรองคุณภาพ
สังคม : สังคมเกิดความเชื่อมั่นว่าโรงพยาบาลต่างๆมีระบบการทำงานที่ไว้ใจได้
ประชาชน : ทราบว่าควรให้ความไว้วางใจกับโรงพยาบาลใด
ผู้ป่วย : ได้รับบริการที่มีคุณภาพ ไม่เสี่ยงต่อการดูแลรักษาที่ไม่ได้มาตรฐานหรือถูกปล่อยปละละเลย
ผู้ประกอบวิชาชีพ : ทำงานภายใต้ความเสี่ยงในระดับต่ำที่สุด มีความราบรื่นและคล่องตัวในการทำงาน
โรงพยาบาล : มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ
องค์กรผู้บริหารเงินกองทุนเพื่อสุขภาพ : มีข้อมูลเพื่อคัดเลือกโรงพยาบาลที่จะให้การดูแลผู้ป่วยซึ่งองค์กรนั้นดูแลอยู่
องค์กรวิชาชีพ : มีหลักประกันว่ามาตรฐานวิชาชีพ/ข้อกำหนดต่างๆถูกนำไปปฏิบัติ

ภาพที่ 1 ใครจะได้อะไรจากการรับรองคุณภาพ




ภาพที่ 2 ภาพรวมการทำงาน

Accreditation ช่วยพัฒนาคุณภาพได้อย่างไร
          
Accreditation คือ กระบวนการประกันคุณภาพระบบบริการของสถานพยาบาลใน ทุกด้าน เปรียบเทียบกับมาตรฐานระดับชาติเป็นระบบที่ทำด้วยความสมัครใจ ประกอบด้วย การประเมินและปรับปรุงตนเองของสถานพยาบาลและการตรวจสอบโดยกลุ่มเพื่อนผู้เชี่ยวชาญ (พรพ.) เป็นกลไกที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของสถานพยาบาลที่ได้ผลดีที่สุด
สิ่งที่ผู้บริหารสถานพยาบาลต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลาก็คือ ความท้าทาย ในการจัดบริการที่ มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเป็นที่พอใจ ของผู้บริการ กระบวนการ accreditation มีส่วน สำคัญในการกระตุ้นให้บุคลากรในโรงพยาบาลต้องรวมตัวกัน เพื่อปรับปรุงระบบ งานมี การจัดวางแผนการปฏิบัติงานอย่างมีระบบ จัดการความรู้ในหน่วยงาน ก่อนที่ผู้ประเมินจากภายนอกจะมาประเมินเปรียบเหมือนกับมีสาร adrenalin หลั่งกระตุ้น ให้มีพลังมากมาย หากว่าไม่มีจุดกระตุ้นตรงนี้หรือไม่มีการ accreditation โรงพยาบาลก็ อาจจะพัฒนาไปเรื่อย ๆ
ภาพที่ 3 กระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพ

การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล คือกลไกกระตุ้นและส่งเสริมให้โรงพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพทั้งองค์กรอย่างมีระบบ 
โดยมีกิจกรรมหลัก 3 ขั้นตอน คือ
1. การพัฒนาคุณภาพ
2. การประเมินคุณภาพ
3. การรับรองคุณภาพ
การพัฒนาคุณภาพ     
ขั้นตอนในการพัฒนาคุณภาพอย่างเป็นระบบประกอบด้วย
1)การวิเคราะห์สภาพปัญหา
2) การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
3) การวิเคราะห์ทางเลือกในการปรับปรุง
4) การทดลองทางเลือก
5) การวัดผล
6) การสรุปเป็นมาตรฐานการปฏิบัติ
การประเมินคุณภาพ
การประเมินคุณภาพ คือ การตรวจสอบระบบงานและสิ่งที่ปฏิบัติ กับข้อกำหนดในมาตรฐานโรงพยาบาล ซึ่งจะทำโดยโรงพยาบาลและโดยผู้ประเมินภายนอก

การประเมินคุณภาพโดยโรงพยาบาล (Self Assessment)

เป็นการประเมินตนเองเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพ และตรวจสอบความพร้อมที่จะได้รับการประเมินและรับรองจากภายนอก.  การประเมินตนเองของโรงพยาบาลควรประเมินโดยทีมที่เกี่ยวข้อง โดยควรครอบคลุมการประเมินเพื่อค้นหาโอกาสพัฒนา, การตรวจเยี่ยมเพื่อสังเกตการปฏิบัติงานจริง, การทบทวนแนวคิด แนวทางปฏิบัติ การปฏิบัติงานจริง และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาและพัฒนาวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่อง, การใช้แบบประเมินตนเองเพื่อบันทึกและวิเคราะห์ระบบงานตามข้อกำหนดในมาตรฐานโรงพยาบาล  
3 ลักษณะ คือ การประเมินความพร้อมของโรงพยาบาล., การประเมินเพื่อพิจารณารับรอง, และการประเมินหลังการรับรอง

การประเมินโดยผู้ประเมินภายนอก (External Survey)

การประเมินโดยผู้ประเมินภายนอกมี
1. การประเมินความพร้อมของโรงพยาบาล (Preparation Survey) เป็นการประเมินเพื่อดูว่า รพ.ได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพตามข้อกำหนดในกรอบมาตรฐานโรงพยาบาลได้ครบถ้วนแล้วหรือไม่ มีประเด็นความเสี่ยงที่ชัดเจนหลงเหลืออยู่หรือไม่.  โรงพยาบาลจะขอให้มีการทำ presurvey ต่อเมื่อผลการประเมินตนเองอยู่ในระดับที่มั่นใจว่าได้มีการพัฒนาตามมาตรฐานโรงพยาบาลในประเด็นสำคัญๆ ครบถ้วน.  ผลการประเมินในขั้นตอนนี้คือการให้คำแนะนำเพื่อให้โรงพยาบาลนำไปปรับปรุง.  การประเมินความพร้อมอาจจะทำเป็นระยะๆ หลายครั้ง จนกว่าจะมั่นใจว่าโรงพยาบาลมีความพร้อมเต็มที่สำหรับการประเมินเพื่อรับรอง.
2. การประเมินเพื่อพิจารณารับรอง (Accreditation Survey) คือการไปรับทราบหลักฐานและความจริงว่าโรงพยาบาลได้มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานโรงพยาบาล, สิ่งที่ระบุไว้ในนโยบาย/คู่มือการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล, คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง, และข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงจากการประเมินความพร้อม.  เครื่องมือสำคัญที่ผู้ประเมินภายนอกจะใช้คือข้อมูลที่โรงพยาบาลประเมินตนเองตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ซึ่งผู้ประเมินภายนอกจะต้องศึกษาล่วงหน้าก่อนที่จะไปประเมินในพื้นที่
 เกณฑ์การให้คะแนน

ระดับ
คะแนน
วิธีการปฏิบัติ
ความครอบคลุม
ผลลัพธ์
ไม่ดี
0%
ไม่เป็นระบบ/ไม่มีการปฏิบัติ
ยังไม่ดี
ไม่มีรายงาน/ผลไม่ดี
พอใช้
10-30%
เริ่มเป็นระบบ ตอบสนองเป้าหมายหลัก
ยังไม่ดี
เริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น
ดี
40-60%
เป็นระบบ, ตอบสนองเป้าหมายหลัก,มีการใช้ข้อมูล
ค่อนข้างดี
ผลลัพธ์ดีในประเด็นสำคัญส่วนใหญ่
ดีมาก
70-90%
เป็นระบบ, ตอบสนองเป้าหมายทุกอย่าง
ดีมาก
ดี, ยั่งยืน   
ดีเลิศ
100%
ปรับปรุงต่อเนื่อง       
ดีเลิศ
ดีเลิศ, เป็นผู้นำ

3. การประเมินหลังการรับรอง
การประเมินหลังการรับรองมี 3 ลักษณะได้แก่:
) การประเมินเฝ้าระวัง (Surveillance Survey) เป็นการประเมินตามกำหนดเวลาทุก 6-12 เดือน โดยเน้นประเด็นสำคัญหรือประเด็นที่มีแนวโน้มจะมีปัญหาในภาพรวม
) การประเมินเมื่อมีปัญหา (Unscheduled Survey)  เป็นการประเมินเมื่อได้รับทราบว่าอาจจะมีปัญหารุนแรงเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยหรือความปลอดภัย
) การประเมินเมื่อมีการปรับเปลี่ยน (Verification Survey) ได้แก่ การเปิดบริการ การขยายบริการ การเปลี่ยนเจ้าของหรือผู้บริหารระดับสูง.  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โรงพยาบาลจะต้องแจ้งให้ทราบภายใน 30 วัน และจะมีการประเมินซ้ำเพื่อยืนยันการรับรองหากอายุการรับรองยังมีเหลือมากกว่า 9 เดือน โดยอายุการรับรองจะไม่ขยายมากกว่าเดิม
เหตุผลที่ต้องมีขบวนการ accreditation ก็เพราะว่าประชาชนมีความต้องการการ บริการที่มีคุณภาพมากขึ้น ปัจจุบันแนวทางพัฒนาคุณภาพมุ่งเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางใน ขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด
หัวใจของการพัฒนาตามข้อกำหนดในมาตรฐาน HA คือ การวิเคราะห์หาจุดอ่อนในระบบที่เป็นอยู่ ดำเนินการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ จัดทำคู่มือ แนวทางปฏิบัติงานสำหรับกระบวนการที่สำคัญ เพื่อเป็นหลักของการธำรงไว้

การรับรองโรงพยาบาล                             
การรับรองโรงพยาบาล คือการรับรองว่าโรงพยาบาลมีการจัดระบบงานที่ดี เอื้อต่อการให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ และปลอดภัย, มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้มีคุณภาพและพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง, มีการตรวจสอบตนเองอย่างสม่ำเสมอ.
ผู้ตัดสินให้การรับรองโรงพยาบาล คือคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง พรพ. แต่งตั้งขึ้น.  คณะกรรมการจะตัดสินโดยพิจารณาข้อมูลที่ได้รับจากผู้ประเมินภายนอก.  ลักษณะของการรับรองมีดังนี้:
·     รับรอง 2 ปี สำหรับโรงพยาบาลที่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานได้ครบถ้วน  บริการส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี ไม่มีความเสี่ยงที่ชัดเจน มีหลักฐานของความพยายามในการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง.
·     ไม่รับรอง  สำหรับโรงพยาบาลที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานโรงพยาบาลได้ครบถ้วน ยังมีความเสี่ยงปรากฎอย่างชัดเจน